คำคล้องจองเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษาไทย คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ดังนั้น จึงมีการใช้คำคล้องจองในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเพราะในภาษาอื่นไม่มีคำคล้องจองมีพัฒนามาจากคำซ้อนนั้นเอง เช่น คำซ้อนที่ใช้สระและตัวสะกดเหมือนกัน เช่น เงียบเชียบ รอบคอบ หรือคำซ้อนที่ใช้พยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น เคว้งคว้าง ต่ำต้อย
ในการแต่งคำประพันธ์นักเรียนต้องฝึกฝนเรื่องการเลือกคำที่มีลักษณะคล้องจองกัน เพื่อให้เกิดความไพเราะมีความหมายที่สื่อความได้ชัดเจนและมีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจด้วย ดังนั้นพื้นฐานสำคัญในการแต่งคำประพันธ์ นักเรียนต้องเรียนรู้คำคล้องจองให้เข้าใจเพื่อเป็นสิ่งสำคัญในการแต่งคำประพันธ์ต่อไป
มารู้จักความหมายของคำคล้องจองกันเถอะ
คำคล้องจอง คือ คำที่มีเสียงสระเดียวกัน และถ้ามีตัวสะกดจะต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันได้
คำคล้องจองในบทประพันธ์ร้อยกรอง เรียกว่า สัมผัส
ตัวอย่างคำคล้องจองที่มีสระเดียวกัน
สระอา ขา ลา นา สา จ่า ล่า หล้า ป้า
สระอี กี สี ศรี ขี่ ผี พี่ ปี่ จี้
สระอู หมู ขู่ สู้ รู้ ผู้ ปู่ งู อู่
สระเอา เกา เขา เรา เผ่า เหล่า เจ้า เหง้า เศร้า
สระเอือ เกลือ เขือ เจือ เผื่อ เสื้อ เพื่อ เยื่อ เอื้อ
ตัวอย่างคำคล้องจองที่มีสระเดียวกัน และมีมาตราตัวสะกดเดียวกัน
สระอา มาตราแม่กด กาด ปาด พลาด ญาติ ทาส
สระออ มาตราแม่กน กลอน ขอน ผ่อน ป้อน มอญ
ลักษณะของคำคล้องจอง
คำคล้องจอง 1 พยางค์ คือคำที่ออกเสียงเพียงครั้งเดียว มีสระเสียงเดียวกัน ตัวสะกดมาตราเดียวกัน ส่วนรูปและเสียงวรรณยุกต์ต่างกันได้คำคล้องจอง 1 พยางค์ มี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. คำคล้องจอง 1 พยางค์ ไม่มีตัวสะกด
2. คำคล้องจอง 1 พยางค์ มีตัวสะกด
คำคล้องจอง 2 พยางค์ คือ กลุ่มคำที่มี 2 พยางค์ พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกหรือพยางค์ที่สองของกลุ่มคำหลังที่อยู่ถัดไปคำคล้องจอง 2 พยางค์ มี 2 ลักษณะ
1. คำคล้องจอง 2 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกของกลุ่มคำหลัง
2. คำคล้องจอง 2 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์ที่สองของกลุ่มคำหลัง
คำคล้องจอง 3 พยางค์ คือ กลุ่มคำที่มี 3 พยางค์ พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกหรือพยางค์ที่สองหรือพยางค์ที่สามของกลุ่มคำหลังที่อยู่ถัดไป คำคล้องจอง 3 พยางค์ มี 3 ลักษณะ ดังนี้
1. คำคล้องจอง 3 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกของกลุ่มคำหลัง
2. คำคล้องจอง 3 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์ที่สองของกลุ่มคำหลัง
3. คำคล้องจอง 3 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์ที่สามของกลุ่มคำหลัง
คำคล้องจองที่มี 4 พยางค์ คือ กลุ่มคำที่มี 4 พยางค์ คำสุดท้ายของกลุ่มคำแรกมีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกหรือพยางค์ที่สองหรือพยางค์ที่สามหรือพยางค์ที่สี่ของกลุ่มคำหลังที่อยู่ถัดไป คำคล้องจอง 4 พยางค์ มี 4 ลักษณะ
1. คำคล้องจอง 4 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกของกลุ่มคำหลัง
2. คำคล้องจอง 4 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์สองของกลุ่มคำหลัง
3. คำคล้องจอง 4 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์สามของกลุ่มคำหลัง
4. คำคล้องจอง 4 พยางค์ ที่พยางค์สุดท้ายของกลุ่มคำแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์สี่ของกลุ่มคำหลัง
หรือดูตัวอย่างได้ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น